WWW.TRAVEL2GUIDE.COM

เนื่องด้วย เป็นวันขึ้นปีใหม่
ขอเชิญพี่น้อง ทำบุญ 9 วัด ใน์ วันดี วันแห่งความสุข
เพื่อเป็นศิริมงคล แด่ชีวิต และครับครัวของท่าน

ในวันปีใหม่ไทย ทราเวลทูไกด์ ขอให้ทุกท่าน
มีแต่ความสุข ตลอดไปในวันปีใหม่นี้ด้วยนะค่ะ

ไหว้พระ 9 วัด อ่างทอง
 
วัดไชโยวรวิหาร หรือ วัดเกษไชโย
ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองประมาณ 18 กิโลเมตร อยู่บนเส้นทางสายอ่างทอง-สิงห์บุรี ด้านตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฏร์สร้างมาแต่ครั้งใดไม่ปรากฏ มีความสำคัญขึ้นมาในสมัยรัชกาลที่ 4  เมื่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี)  แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี   ได้ขึ้นมาสร้างพระพุทธรูปปางสมาธิองค์ใหญ่หรือหลวงพ่อโตไว้กลางแจ้ง   องค์เป็นปูนขาวไม่ปิดทอง   ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5    ได้เสด็จฯ มานมัสการและโปรดเกล้าฯ    ให้ปฏิสังขรณ์วัดไชโยขึ้นเมื่อ     พ.ศ.2430 แต่แรงสั่นสะเทือนระหว่างการลงรากพระวิหารทำให้องค์หลวงพ่อโตพังลงมาจึงโปรด เกล้าฯ ให้สร้างหลวงพ่อโตขึ้นใหม่ตามแบบหลวงพ่อโต วัดกัลยาณมิตร มีขนาดหน้าตักกว้าง 8 วา 6 นิ้ว สูง (สุดยอดรัศมีพระ) 11 วา 1 ศอก 7 นิ้ว และพระราชทานนามว่า “พระมหาพุทธพิมพ์” มีการจัดงานฉลองซึ่งนับเป็นงานใหญ่ที่สุดของจังหวัดอ่างทองในสมัยนั้นและใน วิหารที่หันหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้าพระยาประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) ขนาดหน้าตักกว้าง 5 เมตร สูง 7 เมตร สร้างเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2437
องค์หลวงพ่อโตประดิษฐานอยู่ในพระวิหารที่มีความสูงใหญ่สง่างามแปลกตากว่า วิหารแห่งอื่นๆ พุทธศาสนิกชนจากที่ต่างๆ มานมัสการอย่างไม่ขาดสาย ติดกับด้านหน้าพระวิหาร มีพระอุโบสถก่อสร้างด้วยสถาปัตยกรรมไทยอันงดงามหันด้านหน้าออกสู่แม่น้ำเจ้า พระยา ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องพุทธประวัติ ฝีมือช่างสมัยรัชกาลที่ 5 ประดิษฐานรูปหล่อสมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พรหมรังสี) แห่งวัดระฆังโฆสิตาราม ธนบุรี ปัจจุบันวัดไชโยวรวิหารได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่จนมีความงามสมบูรณ์ยิ่ง

วัดป่าโมกวรวิหาร
อยู่ในเขตเทศบาลตำบลป่าโมก  ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตกห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไป  18 กิโลเมตร   ตามเส้นทางหลวงหมายเลข 309 (สายอ่างทอง-อยุธยา) กิโลเมตรที่ 40 แล้วเข้าทางหลวงหมายเลข 329 จากนั้นเข้าทางหลวงหมายเลข 3501 จะเห็นป้ายทางไปวัดป่าโมก ภายในวัดแห่งนี้มีพระพุทธไสยาสน์ที่งดงามมากองค์หนึ่งของเมืองไทย องค์พระก่ออิฐถือปูนปิดทอง มีความยาวจากพระเมาลีถึงปลายพระบาท 22.58 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสุโขทัย มีประวัติความเป็นมาเล่าขานกันว่า พระพุทธรูปองค์นี้ลอยน้ำมาจมอยู่หน้าวัด ราษฎรบวงสรวงแล้วชักลากขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่ริมฝั่งแม่น้ำ ในพระราชพงศาวดารกล่าวว่า สมเด็จพระนเรศวรมหาราชก่อนที่จะยกทัพไปรบกับพระมหาอุปราชได้เสด็จมาชุมนุมพล และถวายสักการะบูชาพระพุทธรูปองค์นี้ ต่อมากระแสน้ำเซาะเข้ามาใกล้พระวิหาร “ สมเด็จพระศรีสรรเพชญ์ที่ 3 โปรดเกล้าฯให้พระยาราชสงครามเป็นแม่กองงานจัดการชะลอลากให้ห่างจากแม่น้ำ เดิม ” (สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวท้ายสระ) ได้เสด็จมาควบคุมการชะลอองค์พระให้พ้นจากกระแสน้ำเซาะตลิ่งพังและนำไปไว้ยัง วิหารใหม่ที่วัดตลาดห่างจากฝั่งแม่น้ำ 168 เมตร แล้วโปรดให้รวมวัดตลาดกับวัดชีปะขาวเป็นวัดเดียวกัน พระราชทานนามว่าวัดป่าโมกเพราะบริเวณนั้นมีต้นโมกมากมาย สิ่งที่น่าสนใจในวัดนี้นอกจากพระพุทธไสยาสน์แล้วยังมี วิหารเขียนซึ่งเล่ากันว่า ผนังวิหารด้านที่หันออกสู่แม่น้ำมีแท่นสูงเข้าใจว่าเป็นแท่นที่เคยมี กษัตริย์เสด็จประทับยืนบริเวณนั้น มณฑปพระพุทธบาท 4 รอย หอไตร เป็นต้น

วัดต้นสน
อยู่ฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับวิทยาลัยเทคนิคอ่างทอง เป็นวัดเก่าแก่โบราณ เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางสะดุ้งมาร พระนามว่า สมเด็จพระพุทธนวโลกุตตรธัมมบดีศรีเมืองทอง หรือเรียกชื่อย่อว่า “สมเด็จพระศรีเมืองทอง” ขนาดหน้าตักกว้าง 6 วา 3 ศอก 9 นิ้ว สูง 9 วา 1 ศอก 19 นิ้ว หล่อด้วยโลหะทั้งองค์ลงรักปิดทอง พระราชสุวรรณโมลี เจ้าอาวาสวัดต้นสนเดิมเริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2516 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี ทรงประกอบพิธีสวมเกตุสมเด็จพระศรีเมืองทอง เมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2528 นับเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยโลหะขนาดใหญ่ที่สุดองค์แรกและมีพุทธลักษณะที่สวย งามมากอีกองค์หนึ่ง  นอกจากนี้ยังมีวังปลาที่ใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งอีกด้วย

วัดสี่ร้อย
อยู่ริมฝั่งแม่น้ำน้อย หมู่ที่ 4 ตำบลสี่ร้อย ไปตามทางหลวงหมายเลข 3454 กิโลเมตรที่ 31–32 ( บนเส้นทางสายโพธิ์พระยา-ท่าเรือ หรืออ่างทอง -วิเศษชัยชาญ ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทองไปทางทิศตะวันตกประมาณ 12.5 กิโลเมตร แล้วแยกซ้ายมือไปตามถนนคันคลองชลประทานอีก 5 กิโลเมตร) ชื่อตำบลสี่ร้อยและชื่อวัดเป็นชื่อที่สันนิษฐานว่าตั้งขึ้นเป็นอนุสรณ์แก่ ขุนรองปลัดชู  และชาวบ้านวิเศษชัยชาญ 400 คน ที่เสียชีวิตในสงครามระหว่างไทยกับพม่าที่เมืองกุย  ในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าเอกทัศน์แห่งกรุงศรีอยุธยา  พ.ศ.2302  วัดแห่งนี้ มีพระพุทธรูปปางป่าเลไลยก์ สูง 21 เมตร หน้าตักกว้าง 6 เมตรเศษ นามว่า  “หลวงพ่อโต”  หรือเรียกกันอีกชื่อหนึ่งว่า “หลวงพ่อร้องไห้”   เมื่อปีพ.ศ 2530 มีข่าวใหญ่ว่าหลวงพ่อวัดสี่ร้อยมีโลหิตไหลออกมาจากพระนาสิก ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากคนทั่วไปทั้งชาวอ่างทองและจังหวัดใกล้เคียงต่างหา โอกาสมานมัสการ “หลวงพ่อร้องไห้”  นอกจากนี้ภายในพระอุโบสถวัดนี้เคยมีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างอยุธยา ที่มีความงดงามมาก ปัจจุบันภาพลบเลือนไปหมดแล้ว

วัดสระเกษ
วัดนี้เป็นวัดเก่าตั้งแต่สมัยอยุธยา ตั้งอยู่ที่ตำบลชัยภูมิ ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาทิศตะวันออก ห่างจากอำเภอเมืองอ่างทอง ประมาณ 15 กิโลเมตร ตำบลชัยภูมินี้เดิมชื่อ บ้านสระเกษ ขึ้นอยู่กับแขวงเมืองวิเศษชัยชาญ มีกล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารว่าเมื่อ พ.ศ. 2128 พระเจ้าเชียงใหม่ยกทัพมาตั้งค่ายอยู่ที่บ้านสระเกษ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชและสมเด็จพระเอกาทศรถได้รุกไล่ตีทัพของพระเจ้า เชียงใหม่จนแตกพ่ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและสมเด็จพระ นางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ  เคยเสด็จพระราชดำเนินมาวัดสระเกษ เมื่อปี พ.ศ. 2513 เพื่อทรงบำเพ็ญพระราชกุศลบวงสรวงสมเด็จพระนเรศวรมหาราช

วัดขุนอินทรประมูล

หลวงพ่อพระนอน มีความยาว 50 เมตร สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระเจ้าเลอไท แห่งกรุงสุโขทัย เดิมอยู่กลางแจ้ง ขุนอินทรประมูลซึ่งเป็นข้าราชการในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศแห่งกรุง ศรีอยุธยา มีความเลื่อมใสและศรัทธาได้อธิษฐานขอสร้างวัดและวิหาร(ซึ่งต่อมาถูกไฟไหม้ เสียหาย) ท่านได้สร้างจนเงินส่วนตัวหมด จึงได้แอบเอาเงินหลวงมาก่อสร้างจนสำเร็จ ต่อมาทางกรุงศรีอยุธยาตรวจพบจึงได้นำท่านมาประหารและฝังร่างท่านไว้หลังองค์ พระนอน ต่อมาพระเจ้าแผ่นดินทราบว่าท่านโกงเงินภาษีมาสร้างวัดจึงได้เห็นใจและเข้าใจ ในความศรัทธา พระมหากษัตริย์ที่เคยมาสักการบูชาองค์พระนอนคือ1.พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ 2 .พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว 3. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวองค์ปัจจุบันได้เสด็จมา 2 ครั้งคือเมือ พศ.2516 และ พศ.2518

การเดินทาง  สามารถใช้เส้นทางได้ 3 สายคือ  สายอ่างทอง-อำเภอโพธิ์ทอง (เส้นทาง3064 ) แยกขวาที่กิโลเมตร 9 เข้าไปอีกประมาณ 2 กิโลเมตร   หรือใช้เส้นทางจากจังหวัดสิงห์บุรีไปทางอำเภอไชโยประมาณกิโลเมตรที่ 64-65 จะมีทางแยกซ้ายมือเข้าถึงวัดเป็นระยะทาง 4 กิโลเมตร หรือใช้เส้นทางตัดใหม่สายอำเภอวิเศษชัยชาญ-โพธิ์ทอง (ถนนเลียบคลองชลประทาน)  เมื่อถึงอำเภอโพธิ์ทองมีทางแยกเข้าวัดอีก 2  กิโลเมตร  

 

 
 
 
 
   

ไหว้พระ 9 วัด กรุงเทพ

ไหว้พระ 9 วัด อยุธยา

ไหว้พระ 9 วัด อ่างทอง

ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

ไหว้พระ 9 วัด นครปฐม

ไหว้พระ 9 วัด สุพรรณบุรี

ไหว้พระ 9 วัด สิงห์บุรี

ไหว้พระ 9 วัด เพชรบุรี

ไหว้พระ 9 วัด น่าน

ไหว้พระ 9 วัด ลำปาง

ไหว้พระ 9 วัด ลำพูน

ไหว้พระ 9 วัด เชียงใหม่

ไหว้พระ 9 วัด แม่ฮ่องสอน